Background



สภาพทั่วไป
สภาพทั่วไป
29 มีนาคม 2564

0


ที่ตั้ง    
     ตำบลวังประจัน ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 3 บ้านวังประจัน ตำบลวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ตั้งอยู่ทางทิศตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของที่ว่าการอำเภอควนโดน การเดินทางตามถนนทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4184 ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร ระยะทางห่างจากจังหวัดสตูลประมาณ 38 กิโลเมตร
  
เนื้อที่   
     ตำบลวังประจัน มีพื้นที่ 100.5 ตร.กม. หรือ 62,812.50 ไร่ อยู่ในเขตความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน 
     

อาณาเขต

     ทิศเหนือ
     ทิศใต้
     ทิศตะวันออก
     ทิศตะวันตก
ติดต่อกับ
ติดต่อกับ
ติดต่อกับ
ติดต่อกับ
ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
รัฐเปอร์ลิส ประเทศมาเลเซีย และตำบลเกตรี อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
ตำบลทุ่งหมอ และตำบลปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ตำบลเกตรี อำเภอเมือง ตำบลควนสตอ และตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

 
สภาพภูมิประเทศ
     ตำบลวังประจัน มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มเชิงเขา ล้อมรอบด้วยเทือกเขาต่าง ๆ ทางทิศตะวันตกมีเขาคันติง ด้านทิศตะวันออกและทิศใต้ มีเทือกเขาสันกาลาคีรีกั้น เป็นพรมแดนไทย – มาเลเซีย เทือกเขาเหล่านี้เป็นต้นกำเนิดแหล่งน้ำสายต่าง ๆ มากมาย ที่ไหลลงมารวมกัน เพื่อหล่อเลี้ยงชีวิตชาวอำเภอควนโดนและอำเภอเมืองสตูล บริเวณนี้จะมีน้ำตกที่สวยงาม เช่น น้ำตกยาโรย น้ำตกโตนปลิว น้ำตกจิ้งหรีด เป็นต้น น้ำที่ไหลลงจากเทือกเขา มาเป็นลำคลองสายต่าง ๆ มีถึง 13 สาย อาทิ คลองมาเลา คลองตูโย๊ะ ที่บ้านทุ่งมะปรัง คลองช้างตาย ที่บ้านเขานุ้ย คลองปุย ที่บ้านวังประจัน คลองกลางบ้าน ที่บ้านวังประจันใต้ และยังมีคลองสายยาวขนานไปกับถนนและภูเขาทางทิศตะวันตกของตำบล มีชื่อเรียกหลายชื่อ คือ คลองวังประ คลองทุ่น คลองเชี่ยว คลองหัก ลำคลองทั้งหมดนี้ไหลไปรวมกับคลองวังโต๊ะเสด คลองกาหมิง ทางตอนเหนือของบ้านทุ่งมะปรัง เกิดเป็นลำคลองดูสน ณ จุดนี้ จากนั้นเป็นที่ราบสามารถปลูกข้าว เช่น ทุ่งนาวังสาย ทุ่งมะปรัง ทุ่งนาวังประจัน และยังมีที่บริเวณเชิงเขา ที่ใช้ปลูกยางพารา และสวนผลไม้ เช่น ควนเจ๊ะหมีน ควนช้างดิ่ง ส่วนพื้นที่อื่น ๆ ทางราชการได้ประกาศเป็นสวนป่า และเป็นเขตอุทยานแห่งชาติทะเลบัน เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรที่อยู่ในป่า ตลอดจนป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ ไว้เป็นต้นน้ำต่อไป
   
ลักษณะภูมิอากาศ
     มีลักษณะอากาศแบบร้อนชื้น ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนตกชุก จากสภาพพื้นที่ที่เป็นหุบเขา มีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้อากาศในตอนกลางวัน รู้สึกสดชื่น โดยเฉพาะในเขตอุทยานแห่งชาติทะเลบัน และน้ำตกต่าง ๆ 
      
สภาพภูมิอากาศ แบ่งออกเป็น 2 ฤดู คือ
     1. ฤดูร้อน มีตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนเมษายน มีฝนตกบ้างเล็กน้อยจากอิทธิพลปลายมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
     2. ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนธันวาคม เป็นช่วงที่มีฝนตกชุกจากอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ (พ.ค. – ก.ย.) และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (ต.ค. – ธ.ค.)